วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บุคคล

บุคคล
บุคคล ทางกฎหมาย หมายถึง ผู้ซึ่งอาจมีหรืออยู่ภายใต้บังคับแห่ง สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย บุคคลตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.บุคคลธรรมดา และ 2.นิติบุคคล1.บุคคลธรรมดา เริ่มต้นเมื่อทารกออกมาจากครรภ์มารดาหมดทั้งตัว และอยู่รอดเป็นทารก คือ หัวใจเต้นหรือหายใจแม้เพียงเสี้ยววินาที แม้จะยังไม่ตัดสายสะดือก็ตาม ย่อมมีสภาพบุคคลนับแต่นั้น เมื่อมีสภาพบุคคลแล้ว สิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น สิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาตามกฎหมาย(มาตรา1564 ตั้งแต่นี้จะเขียนเป็น ม.1564) สิทธิในการใช้ชื่อสกุลบิดา(ม.1561)สำคัญ ! สิทธิในร่างกายหรืออื่น ๆ เช่น มรดกซึ่งตนพึงได้รับเมื่อมีสภาพบุคคล หรือ สิทธิในผลประโยชน์อื่น บางประการซึ่งพึงได้รับหากทารกในครรภ์มีสภาพบุคคล เมื่อทารกได้คลอดและอยู่รอดเป็นทารกแล้ว ย่อมเรียกร้องสิทธิเหล่านั้นย้อนหลังไปได้ เช่น-บิดาเสียชีวิตในขณะที่ด.ช.แดง อยู่ในครรภ์มารดาได้3เดือน ดั่งนี้ ด.ช.แดง เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารกแล้ว ย่อมมีสิทธิในมรดกนั้น-นางขาว มารดาของด.ช.ดำ ถูก นายเขียวชกท้อง เป็นเหตุให้ด.ช.ดำซึ่งอยู่ในครรภ์มารดาขณะนั้น ได้รับความกระทบกระเทือน เมื่อคลอด ขาของด.ช.ดำ จึงพิการ ดังนี้ ด.ช.มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากนายเขียว ฐานละเมิดได้- การนับอายุบริบูรณ์ มีสูตรคิดดังนี้1.นำวันเกิด บวก 1 เสมอ2.เอาปีเกิดบวกด้วยอายุ3.เวลาเกิดนั้นจะเกิดเวลาไหนกฎหมายไม่สนใจ หากแต่เวลาที่อายุครบบริบูรณ์ คือ 0.00น.ตัวอย่าง นาย ก. เกิด21 มิถุนายน พ.ศ.2533 เกิดตอน9โมงเช้า จะมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์เมื่อใดตอบ นาย ก. จะมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 0.00น.****กรณีไม่ทราบวัน เดือน ปีเกิด ย่อม เกิดปัญหาในการนับภูมิลำเนาของบุคคล ซึ่งหลักกฎหมายใน ปพพ.มิได้บัญญัติไว้ จึงอาศัยกฎหมายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร มาใช้แก้ไขกรณีปัญหา ดังนี้1.ไม่ทราบวันเกิด แต่ทราบเดือนเกิด และปีเกิด เช่นนี้ให้ถือวันที่1ของเดือนนั้นเป็นวันที่เกิด2.ไม่ทราบวันเกิดและเดือนเกิดที่แน่นอน แต่ทราบปีเกิด กฎหมายให้ถือวันที่1 มกราคมของปีนั้นเป็นวันและเดือนเกิด3.ไม่ทราบทั้งวัน เดือน ปีเกิด กฎหมายให้พิจารณาจากรูปพรรณสัณฐานของบุคคลนั้นว่าควรมีอายุเท่าใด - ภูมิลำเนา วิธีพิจารณาว่าภูมิลำเนาอยู่ที่ใด เพื่อประโยชน์ทางกฎหมาย เช่น การส่งหมายศาล เป็นต้น1.ให้ถือหลักแหล่งสำคัญของบุคคลนั้น ว่าอาศัยอยู่ที่ใด ซึ่งอาจมีหลายแห่งก็ได้ เช่น ในกรณีที่ผู้นั้นอยู่อาศัยอย่างสับเปลี่ยน (ภูมิลำเนาจึงไม่จำเป็นต้องมีแห่งเดียว)2.ถ้าไม่มีภูมิลำเนาปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นอยู่(ที่พบตัว)เป็นภูมิลำเนา3.บุคคลอาจมีภูมิลำเนาเฉพาะการได้ เช่น การย้ายที่อยู่ด้วยคำสั่งราชการ ให้ถือว่า ถิ่นที่อยู่ที่ถูกโยกย้ายไปนั้นเป็นภูมิลำเนา4.บุคคลผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก จะมีภูมิลำเนาที่ทัณฑสถานหรือเรือนจำ********บุคคลบางประเภทกฎหมายได้กำหนดภูมิลำเนาโดยเฉพาะ ดังนี้1.ผู้เยาว์ กฎหมายให้ใช้ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม(คือพ่อและแม่ที่สมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย{จดทะเบียนสมรสกันนั่นเอง} แต่หากไม่ได้จดทะเบียนกัน ผู้แทนโดยชอบธรรมคือ แม่เท่านั้น)1.1 กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ให้บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม1.2กรณีเสียชีวิตทั้งคู่ ให้บุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์(เรียกว่าผู้ปกครอง)เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม2.คนไร้ความสามารถ(คืออะไร? ให้อ่านในหัวข้อบุคคลผู้หย่อนความสามารถ) ให้ถือภูมิลำเนาตามผู้อนุบาล3.ข้าราชการ กฎหมายให้ใช้ถิ่นที่ทำงานเป็นประจำเป็นภูมิลำเนา ยกเว้นข้าราชชั่วคราว(พวกนักการเมือง) หรือเป็นเพียงการย้ายไปช่วยราชการชั่วคราว เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นภูมิลำเนาบุคคลที่หย่อนความสามารถ คือ บุคคลซึ่งกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมไว้เป็นพิเศษ โดยทั่วไป บุคคลผู้หย่อนความสมารถทำนิติกรรมใดย่อมเป็นโมฆียะทุกกรณี ยกเว้น ผู้เยาว์อายุไม่เกิน15ปี และ คนไร้ความสามารถ ทำพินัยกรรม จะมีผลเป็นโมฆะ ***บุคคลที่หย่อนความสามารถ*** ได้แก่-ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งจะบรรลุนิติภาวะได้นั้นโดย2 วิธี คือ1.รอให้อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ 2.ถ้าอายุยังไม่ครบ20ปีบริบูรณ์ ต้องได้ทำการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย-ถ้าชายและหญิงมีอายุมากกว่า17ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน20ปี ทั้งคู่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม -ถ้าอายุไม่ถึง17ปี ต้องได้รับคำสั่งศาล คือ ศาลต้องอนุญาตให้สมรสก่อน เพราะอาจมีเหตุอันสมควร เช่น หญิงตั้งครรภ์[1]หลัก “บรรลุแล้วบรรลุเลย” คือ หากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว ย่อมไม่กลับมาเป็นผู้เยาว์อีก เช่น นายก. กับนางสาว ข. สมรสกันตอนอายุ17ปี แต่งได้1เดือนก็หย่าขาดกัน เช่นนี้ทั้งคู่ย่อมไม่กลับมาเป็นผู้เยาว์อีก-คนไร้ความสามารถ คือ คนสติไม่สมประกอบหรือเรียกว่าคนวิกลจริต ซึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยศาลจะตั้ง “ผู้อนุบาล” ให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองคนไร้ความสามารถ -คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้ที่ไม่อาจจัดการงานของตนเองได้ เพราะ อาจมีกายพิการ หรือ จิตฟั่นเฟือนแต่ไม่ถึงขนาดวิกลจริต หรือ เสพสุรายาเมาเป็นอาจิณ โดยคู่สมรส หรือผู้สืบสันดาน หรือบุพการี หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ศาลจะตั้งผู้พิทักษ์ ให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถสามารถกำหนดภูมิลำเนาของตนเองได้ แต่ไม่สามารถทำนิติกรรมหรือธุรกรรมสำคัญได้-คนวิกลจริต คือ คนบ้า ที่ยังไม่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถการสิ้นสภาพบุคคล1.ตายตามธรรมชาติ หมายถึง ก้านสมองหยุดทำงาน2.สาบสูญ หมายถึง การตายโดยผลของกฎหมาย แบ่งเป็น2กรณี-กรณีธรรมดา บุคคลจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าตายร้ายดีอย่างไรและพ้นเวลา 5 ปี-กรณีพิเศษ ซึ่งเกิดเหตุภัยพิบัติ หรือ ทำการสงคราม หรือ เกิดภยันตรายอันอาจเป็นภัยถึงชีวิต โดยไม่มีใครทราบว่าตายร้ายดีอย่างไร เมื่อพ้นกำหนดเวลา2 ปีการสาบสูญทั้งสองกรณีข้างต้น ให้ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น บิดามารดา คู่สมรส ผู้สืบสันดาน ร้องต่อศาลให้มีคำสั่งให้ผู้นั้นเป็นคนสาบสูญ ****จะเป็นคนสาบสูญได้ ศาลต้องสั่งให้เป็นคนสาบสูญเท่านั้น!!! และหากภายหลังพบว่าผู้นั้นยังไม่ตาย สามารถขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้ 2.นิติบุคคล คือ บุคคลที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย เช่น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เทศบาล อบจ. อบต. กรมตำรวง กองทัพเรือ/บก/อากาศ วัด วัดของศาสนาอื่นที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น นิติบุคคล เมื่อจดทะเบียนแล้ว ย่อมเกิดสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา เช่น เป็นเจ้าของทรัพย์ได้ ทำนิติกรรม-สัญญาได้(ผ่านผู้แทนนิติบุคคล) แต่สิทธิและหน้าที่บางประการที่นิติบุคคลไม่อาจทำได้ เช่น การจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตร การรับรองบุตรบุญธรรมนิติบุคคลที่พบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มี 5 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ ระวัง บริษัทมหาชนจำกัด มิใช่นิติบุคคลตามปพพ. *** แต่เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535***ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ได้แก่ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือ ถิ่นที่เป็นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาแสดงเจตนาที่แตกต่างกัน คือ นิติบุคคล(ให้นึกถึงองค์กรละกัน) จะแสดงเจตนาว่าจะทำสัญญา หรือ ดำเนินธุรกรรมใด ได้นั้น ต้องผ่านผู้แทนนิติบุคคล และการที่ทำนั้นต้องไม่เกินวัตถุประสงค์แห่งนิติบุคคลนั้น หากกระทำเกินขอบแห่งวัตถุประสงค์ย่อมไม่ผูกพันต่อนิติบุคคลนั้น แต่หากนิติบุคคลทำการดังกล่าวแสวงหาผลประโยชน์เรื่อยมา ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้เช่น บริษัท น้ำมัน จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการค้าน้ำมัน แต่ภายหลังกลับรับจอดรถยนต์ เช่นนี้บริษัทดังกล่าวกระทำเกินขอบเขตวัตถุประสงค์แห่งนิติบุคคล หากภายหลังรถของลูกค้าหายไป บริษัทดังกล่าวย่อมต้องรับผิดชอบในเหตุนั้น สิทธิทางแพ่ง ; ทรัพยสิทธิ และ บุคคลสิทธิ1.ทรัพย์สิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์ เช่น ความเป็นเจ้าของปากกา(มีกรรมสิทธิ์ในปากกา) 2.บุคคลสิทธิ คือ สิทธิเหนือบุคคล เช่น ความเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเหนือลูกหนี้ ในการให้ส่งมอบทรัพย์สิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น