วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บุคคล

บุคคล
บุคคล ทางกฎหมาย หมายถึง ผู้ซึ่งอาจมีหรืออยู่ภายใต้บังคับแห่ง สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย บุคคลตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.บุคคลธรรมดา และ 2.นิติบุคคล1.บุคคลธรรมดา เริ่มต้นเมื่อทารกออกมาจากครรภ์มารดาหมดทั้งตัว และอยู่รอดเป็นทารก คือ หัวใจเต้นหรือหายใจแม้เพียงเสี้ยววินาที แม้จะยังไม่ตัดสายสะดือก็ตาม ย่อมมีสภาพบุคคลนับแต่นั้น เมื่อมีสภาพบุคคลแล้ว สิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น สิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาตามกฎหมาย(มาตรา1564 ตั้งแต่นี้จะเขียนเป็น ม.1564) สิทธิในการใช้ชื่อสกุลบิดา(ม.1561)สำคัญ ! สิทธิในร่างกายหรืออื่น ๆ เช่น มรดกซึ่งตนพึงได้รับเมื่อมีสภาพบุคคล หรือ สิทธิในผลประโยชน์อื่น บางประการซึ่งพึงได้รับหากทารกในครรภ์มีสภาพบุคคล เมื่อทารกได้คลอดและอยู่รอดเป็นทารกแล้ว ย่อมเรียกร้องสิทธิเหล่านั้นย้อนหลังไปได้ เช่น-บิดาเสียชีวิตในขณะที่ด.ช.แดง อยู่ในครรภ์มารดาได้3เดือน ดั่งนี้ ด.ช.แดง เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารกแล้ว ย่อมมีสิทธิในมรดกนั้น-นางขาว มารดาของด.ช.ดำ ถูก นายเขียวชกท้อง เป็นเหตุให้ด.ช.ดำซึ่งอยู่ในครรภ์มารดาขณะนั้น ได้รับความกระทบกระเทือน เมื่อคลอด ขาของด.ช.ดำ จึงพิการ ดังนี้ ด.ช.มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากนายเขียว ฐานละเมิดได้- การนับอายุบริบูรณ์ มีสูตรคิดดังนี้1.นำวันเกิด บวก 1 เสมอ2.เอาปีเกิดบวกด้วยอายุ3.เวลาเกิดนั้นจะเกิดเวลาไหนกฎหมายไม่สนใจ หากแต่เวลาที่อายุครบบริบูรณ์ คือ 0.00น.ตัวอย่าง นาย ก. เกิด21 มิถุนายน พ.ศ.2533 เกิดตอน9โมงเช้า จะมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์เมื่อใดตอบ นาย ก. จะมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 0.00น.****กรณีไม่ทราบวัน เดือน ปีเกิด ย่อม เกิดปัญหาในการนับภูมิลำเนาของบุคคล ซึ่งหลักกฎหมายใน ปพพ.มิได้บัญญัติไว้ จึงอาศัยกฎหมายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร มาใช้แก้ไขกรณีปัญหา ดังนี้1.ไม่ทราบวันเกิด แต่ทราบเดือนเกิด และปีเกิด เช่นนี้ให้ถือวันที่1ของเดือนนั้นเป็นวันที่เกิด2.ไม่ทราบวันเกิดและเดือนเกิดที่แน่นอน แต่ทราบปีเกิด กฎหมายให้ถือวันที่1 มกราคมของปีนั้นเป็นวันและเดือนเกิด3.ไม่ทราบทั้งวัน เดือน ปีเกิด กฎหมายให้พิจารณาจากรูปพรรณสัณฐานของบุคคลนั้นว่าควรมีอายุเท่าใด - ภูมิลำเนา วิธีพิจารณาว่าภูมิลำเนาอยู่ที่ใด เพื่อประโยชน์ทางกฎหมาย เช่น การส่งหมายศาล เป็นต้น1.ให้ถือหลักแหล่งสำคัญของบุคคลนั้น ว่าอาศัยอยู่ที่ใด ซึ่งอาจมีหลายแห่งก็ได้ เช่น ในกรณีที่ผู้นั้นอยู่อาศัยอย่างสับเปลี่ยน (ภูมิลำเนาจึงไม่จำเป็นต้องมีแห่งเดียว)2.ถ้าไม่มีภูมิลำเนาปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นอยู่(ที่พบตัว)เป็นภูมิลำเนา3.บุคคลอาจมีภูมิลำเนาเฉพาะการได้ เช่น การย้ายที่อยู่ด้วยคำสั่งราชการ ให้ถือว่า ถิ่นที่อยู่ที่ถูกโยกย้ายไปนั้นเป็นภูมิลำเนา4.บุคคลผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก จะมีภูมิลำเนาที่ทัณฑสถานหรือเรือนจำ********บุคคลบางประเภทกฎหมายได้กำหนดภูมิลำเนาโดยเฉพาะ ดังนี้1.ผู้เยาว์ กฎหมายให้ใช้ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม(คือพ่อและแม่ที่สมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย{จดทะเบียนสมรสกันนั่นเอง} แต่หากไม่ได้จดทะเบียนกัน ผู้แทนโดยชอบธรรมคือ แม่เท่านั้น)1.1 กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ให้บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม1.2กรณีเสียชีวิตทั้งคู่ ให้บุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์(เรียกว่าผู้ปกครอง)เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม2.คนไร้ความสามารถ(คืออะไร? ให้อ่านในหัวข้อบุคคลผู้หย่อนความสามารถ) ให้ถือภูมิลำเนาตามผู้อนุบาล3.ข้าราชการ กฎหมายให้ใช้ถิ่นที่ทำงานเป็นประจำเป็นภูมิลำเนา ยกเว้นข้าราชชั่วคราว(พวกนักการเมือง) หรือเป็นเพียงการย้ายไปช่วยราชการชั่วคราว เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นภูมิลำเนาบุคคลที่หย่อนความสามารถ คือ บุคคลซึ่งกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมไว้เป็นพิเศษ โดยทั่วไป บุคคลผู้หย่อนความสมารถทำนิติกรรมใดย่อมเป็นโมฆียะทุกกรณี ยกเว้น ผู้เยาว์อายุไม่เกิน15ปี และ คนไร้ความสามารถ ทำพินัยกรรม จะมีผลเป็นโมฆะ ***บุคคลที่หย่อนความสามารถ*** ได้แก่-ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งจะบรรลุนิติภาวะได้นั้นโดย2 วิธี คือ1.รอให้อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ 2.ถ้าอายุยังไม่ครบ20ปีบริบูรณ์ ต้องได้ทำการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย-ถ้าชายและหญิงมีอายุมากกว่า17ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน20ปี ทั้งคู่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม -ถ้าอายุไม่ถึง17ปี ต้องได้รับคำสั่งศาล คือ ศาลต้องอนุญาตให้สมรสก่อน เพราะอาจมีเหตุอันสมควร เช่น หญิงตั้งครรภ์[1]หลัก “บรรลุแล้วบรรลุเลย” คือ หากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว ย่อมไม่กลับมาเป็นผู้เยาว์อีก เช่น นายก. กับนางสาว ข. สมรสกันตอนอายุ17ปี แต่งได้1เดือนก็หย่าขาดกัน เช่นนี้ทั้งคู่ย่อมไม่กลับมาเป็นผู้เยาว์อีก-คนไร้ความสามารถ คือ คนสติไม่สมประกอบหรือเรียกว่าคนวิกลจริต ซึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยศาลจะตั้ง “ผู้อนุบาล” ให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองคนไร้ความสามารถ -คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้ที่ไม่อาจจัดการงานของตนเองได้ เพราะ อาจมีกายพิการ หรือ จิตฟั่นเฟือนแต่ไม่ถึงขนาดวิกลจริต หรือ เสพสุรายาเมาเป็นอาจิณ โดยคู่สมรส หรือผู้สืบสันดาน หรือบุพการี หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ศาลจะตั้งผู้พิทักษ์ ให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถสามารถกำหนดภูมิลำเนาของตนเองได้ แต่ไม่สามารถทำนิติกรรมหรือธุรกรรมสำคัญได้-คนวิกลจริต คือ คนบ้า ที่ยังไม่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถการสิ้นสภาพบุคคล1.ตายตามธรรมชาติ หมายถึง ก้านสมองหยุดทำงาน2.สาบสูญ หมายถึง การตายโดยผลของกฎหมาย แบ่งเป็น2กรณี-กรณีธรรมดา บุคคลจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าตายร้ายดีอย่างไรและพ้นเวลา 5 ปี-กรณีพิเศษ ซึ่งเกิดเหตุภัยพิบัติ หรือ ทำการสงคราม หรือ เกิดภยันตรายอันอาจเป็นภัยถึงชีวิต โดยไม่มีใครทราบว่าตายร้ายดีอย่างไร เมื่อพ้นกำหนดเวลา2 ปีการสาบสูญทั้งสองกรณีข้างต้น ให้ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น บิดามารดา คู่สมรส ผู้สืบสันดาน ร้องต่อศาลให้มีคำสั่งให้ผู้นั้นเป็นคนสาบสูญ ****จะเป็นคนสาบสูญได้ ศาลต้องสั่งให้เป็นคนสาบสูญเท่านั้น!!! และหากภายหลังพบว่าผู้นั้นยังไม่ตาย สามารถขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้ 2.นิติบุคคล คือ บุคคลที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย เช่น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เทศบาล อบจ. อบต. กรมตำรวง กองทัพเรือ/บก/อากาศ วัด วัดของศาสนาอื่นที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น นิติบุคคล เมื่อจดทะเบียนแล้ว ย่อมเกิดสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา เช่น เป็นเจ้าของทรัพย์ได้ ทำนิติกรรม-สัญญาได้(ผ่านผู้แทนนิติบุคคล) แต่สิทธิและหน้าที่บางประการที่นิติบุคคลไม่อาจทำได้ เช่น การจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตร การรับรองบุตรบุญธรรมนิติบุคคลที่พบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มี 5 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ ระวัง บริษัทมหาชนจำกัด มิใช่นิติบุคคลตามปพพ. *** แต่เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535***ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ได้แก่ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือ ถิ่นที่เป็นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาแสดงเจตนาที่แตกต่างกัน คือ นิติบุคคล(ให้นึกถึงองค์กรละกัน) จะแสดงเจตนาว่าจะทำสัญญา หรือ ดำเนินธุรกรรมใด ได้นั้น ต้องผ่านผู้แทนนิติบุคคล และการที่ทำนั้นต้องไม่เกินวัตถุประสงค์แห่งนิติบุคคลนั้น หากกระทำเกินขอบแห่งวัตถุประสงค์ย่อมไม่ผูกพันต่อนิติบุคคลนั้น แต่หากนิติบุคคลทำการดังกล่าวแสวงหาผลประโยชน์เรื่อยมา ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้เช่น บริษัท น้ำมัน จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการค้าน้ำมัน แต่ภายหลังกลับรับจอดรถยนต์ เช่นนี้บริษัทดังกล่าวกระทำเกินขอบเขตวัตถุประสงค์แห่งนิติบุคคล หากภายหลังรถของลูกค้าหายไป บริษัทดังกล่าวย่อมต้องรับผิดชอบในเหตุนั้น สิทธิทางแพ่ง ; ทรัพยสิทธิ และ บุคคลสิทธิ1.ทรัพย์สิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์ เช่น ความเป็นเจ้าของปากกา(มีกรรมสิทธิ์ในปากกา) 2.บุคคลสิทธิ คือ สิทธิเหนือบุคคล เช่น ความเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเหนือลูกหนี้ ในการให้ส่งมอบทรัพย์สิน

ความผิดเกี่ยวกับเพศ

ความผิดเกี่ยวกับเพศ
*มาตรา ๒๗๖ ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมืนบาทการ กระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้ กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นถ้า การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชาย ในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทหรือจำคุกตลอดชีวิตถ้า การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรสและคู่สมรส นั้นยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป และประสงค์จะหย่าให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ และให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการให้ดำเนินการฟ้องหย่าให้มาตรา ๒๗๗ ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาทการ กระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้ กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นถ้า การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พัน บาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิตถ้า การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกันและเด็ก นั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตความ ผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบ สามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป*มาตรา ๒๗๗ ทวิ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา ๒๗๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม เป็นเหตุให้ผู้ถือกระทำ(๑) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สาม หมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต(๒) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตมาตรา ๒๗๗ ตรี ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๗๗ วรรคสี่ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ(๑) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต(๒) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตมาตรา ๒๗๘ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๒๗๙ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ผู้กระทำได้กระทำโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา ๒๘๐ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๔ หรือมาตรา ๒๗๙ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ(๑) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท(๒) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำ คุกตลอดชีวิตมาตรา ๒๘๑ การ กระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖ วรรคแรก และมาตรา ๒๗๘ นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้า ธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการกระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา ๒๘๕ เป็นความผิดอันยอมความได้มาตรา ๒๘๒ ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยัง ไม่เกินสิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาทถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทผู้ ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหาล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณีมาตรา ๒๘๓ ผู้ ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง โดยใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดครองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทถ้า การกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้จัดหาล่อไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณีมาตรา ๒๘๓ ทวิ ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจาร แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับถ้า การกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรกหรือวรรคสองต้องระวางโทษตามที่บัญญัติในวรรคแรกหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณีความผิดตามวรรคแรกและวรรคสามเฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปี เป็นความผิดอันยอมความได้มาตรา ๒๘๔ ผู้ใดพาผู้อื่นไปเพื่ออนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พาไปนั้น ความผิดตามมาตรานี้ เป็นความผิดยอมความได้

ความผิดต่อทรัพย์

ความผิดต่อทรัพย์
1. ลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยโดยทุจริต เช่นการเอาสี่งของที่ของบุคคลอื่นวางไว้ไปขาย 2. วิงราวทรัพย์ คือ การลักทรัพย์ของผู่อื่นโดยฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้า ถือว่าอุกอาจกว่าการลักทรัพย์ธรรมดา เช่น การกระชากสร้อยคอผู้อื่น3. ชิงทรัพย์ เป็นการลักทรัพย์โยประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าน ถือว่ารุนแรงกว่าลักทรัพย์ธรรมดา เช่นการใช้อาวุธจี้บังคับ4.ปล้นทรัพย์ คือการชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่3คนขึ้นไป ถือเป็นความผิดรุนแรงกว่าชิงทรัพย์ ความผิดต่อทรัพย์4ข้อด้านบนนี้ ถ้าใช้อาวุธ หรือ ทำร้าย ให้เป็นอันตรายด้วย จะมีโทษเพิ่มหนักขึ้นตามลำดับ5.กรรโชกทรัพย์ คือ การข่มขู่ให้ผู้อื่นให้ทรัพย์แก่ตน 6.รีดเอาทรัพย์ คือ การข่มขู่เอาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น โดยการเปิดเผยความลับของผู้อื่น หรือบุคคลที่3 7.ฉ้อโกงทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นโดยหลอกลวงให้เขาหลงเชื่อ และส่งมอบทรัพย์สินให้8.ยักยอกทรัพย์ คือการที่ผู้กระทำผิดครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นไป9. รับของโจร คือ การที่ผู้กระทำผิดได้ช่วยซ่อนเร้นน จำหน่าย พาเอาไป ซื้อไว้ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์ที่ได้มาโดยกระทำผิด (แต่ถ้าสืบความแล้วพบว่า ผู้กระทำผิด ไม่ทราบว่าของเป็นของใคร หรือทรัพย์ที่ได้มาผิดกฎหมาย ก็จะไม่มีความผิด) 10.ทำให้เสียทรัพย์ คือ การทำให้ผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมด้วยนั้นเสียหาย 11. บุกรุก คือความผิดที่ผู้กระทำผิดได้เข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลอันควร หรือ มีเหตุผลสมควรแต่ผู้ให้เข้าไม่ให้อนุญาต ซึ่งเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น

กฎหมายอาญา




กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิดกฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้นทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ1. ความผิดทางอาญาความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดินกรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้นกรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้3. โทษทางอาญา1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใดบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นกรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนากรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่
กฎหมายอาญา1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิดกฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้นทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ1. ความผิดทางอาญาความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดินกรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้นกรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้3. โทษทางอาญา1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใดบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นกรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนากรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่

กฎหมาย

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฎหมาย
“กฎหมาย” หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับลักษณะของกฎหมายเมื่อได้ทราบความหมายของกฎหมายแล้ว กฎหมายต้องมีลักษณะ ๕ ประการดังนี้1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับหมายความว่า กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง คำบัญชา อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ เช่น ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวก เลิกกินหมากและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน ประกาศนี้แจ้งให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร มิได้บังคับจึงไม่เป็นกฎหมาย2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์รัฎฐาธิปัตย์คือ ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีก ดังนี้รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร แม้จะเป็นการปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตามถ้าหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์ที่สามารถออกคำสั่ง คำบัญชาในฐานะเป็นกฎหมายของประเทศได้3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปหมายความว่า กฎหมายต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ เพศ หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน (โดยไม่เลือกปฏิบัติ) เพราะบุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน แม้กฎหมายบางอย่างอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล หรือวางความรับผิดชอบให้แก่คนบางหมู่เหล่า แต่ก็ยังอยู่ในความหมายที่ว่าใช้บังคับทั่วไปอยู่เหมือนกัน เพราะคนทั่ว ๆ ไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกฎหมายนั้นก็ยังต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอสาระสำคัญอีกประการหนึ่งคือ กฎหมายเมื่อประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอกไป (CONTINUITY) จนกว่าจะถูกแก้ไขเพิ่มเติมหรือถูกยกเลิก หากไม่มีการยกเลิกก็มีผลบังคับใช้ได้เสมอ ดังสุภาษิตกฎหมายที่ว่า “กฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย” (THELAW SOMETIMESSLEEP, NEVER DIE)4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตามแม้การปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติ แต่หากเป็นคำสั่ง คำบัญชาแล้ว ผู้รับคำสั่ง คำบัญชา ต้องปฏิบัติตาม หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย อันเป็นผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนั้น และเป็นที่พึงเข้าใจด้วยว่าผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะรับคำสั่งและปฏิบัติตามกฎหมายได้นั้นต้องเป็นบุคคลตามกฎหมายอย่างไรก็ดีแม้กฎหมายจะไม่ใช้บังคับแก่สัตว์ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมมิให้สัตว์ก่อความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญแก่มนุษย์ ดังนี้กฎหมายจึงกำหนดความรับผิดไว้กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงของตนตามสมควร จึงมิใช่เป็นการออกคำสั่ง คำบัญชาแก่สัตว์ แต่เป็นการควบคุมโดยผ่านทางผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้คำเสียหายทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย”5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับเพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์ และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ (SANCTION) สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่งสภาพบังคับให้ทางอาญาโดยทั่วไปแล้ว คล้ายคลึงกัน คือ หากเป็นโทษสูงสุดจะใช้วิธีประหารชีวิต ซึ่งปางประเทศให้วิธีการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า แขวนคอ แต่ประเทศไทยในปัจจุบันให้นำไปฉีดยาให้ตายใช้วิธีประหารด้วยวิธีอื่นไม่ได้ นอกจากนั้นก็เป็นการจำคุก เป็นการเอาตัวนักโทษควบคุมในเรือนจำ ซึ่งต่างกับกักขังเป็นการเอาตัวไปกักไว้ที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ เช่นที่อยู่ของผู้นั้นเอง หรือสถานที่อื่นที่ผู้ต้องกักขังมีสิทธิดีกว่าผู้ต้องจำคุก สำหรับกฎหมายไทยโทษกักขังจะใช้เฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดครั้งแรก และความผิดนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ศาลจึงจะลงโทษกักขังแทนจำคุกได้ ส่วนการปรับคือ ให้ชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาลการริบทรัพย์สิน คือ การริบเอาทรัพย์นั้นตกเป็นของแผ่นดิน เช่น ปืนที่เตรียมไว้ยิงคน หรือเงินที่ไปปล้นเขามา นอกจากการริบแล้วอาจสั่งทำลายทรัพย์สินนั้นเสียก็ได้สภาพบังคับในทางแพ่งก็ได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ ตัวอย่างเช่น การซื้อขายที่ดินโดยมิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตกเป็นโมฆะ การทำนิติกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ดี เป็นการพ้นวิสัยก็ดี เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี ตกเป็นโมฆะ การให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งจากการไม่ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกละเมิดเป็นต้น

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

กรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎกรุงสุโขทัยนั้นไม่ สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)
ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเท วสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ คือ
1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว
ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง ออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์"การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้าตามคติของฮินดูราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือกำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าว หรือทาส และระบบศักดินา"
ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ แบบหนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอม

กานปกครองสมัยกรุธนบุรี


การปกครองสมัยกรุงธนบุรี

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอน ปลาย พอสรุปได้ดังนี้ การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแห น่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่ 1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยา ยมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย 2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีพระ ยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับ กิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี 3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี) มีพระยา โกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับ การรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ 4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและ เสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้น ใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี) หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์ หัวเมือง ชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์ หัวเมือง ชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกล ออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช


/